วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

Smart TV คืออะไร ??

smart-tv-application
 เทียบให้เข้าใจกันง่ายๆ กับสิ่งใกล้ตัวก็คือ Smart Phone นั่นเอง ที่เดี๋ยวนี้พัฒนาไปจนมี Application หลากหลายให้เลือกใช้ – ถ่ายรูป ดูหนัง ฟังเพลง อินเทอร์เน็ต และอื่นๆ – พอมาเป็น Smart TV ก็เหมือนกัน มี Function ลูกเล่นต่างๆ ที่มากขึ้น เช่น เล่น DVD ต่อกับเครื่องเกม จอยน์กับคอมพิวเตอร์ ต่อไปก็เชื่อมต่อ Internet มี Application เป็นของตัวเอง Update/Download กันได้ในตัว…

1. การเชื่อมต่อของ Smart TV , Internet TV
Smart TV / Internet TV ต้องใช้ Internet เพื่อ Update, Download ตัว Application หรือการใช้งาน Browser นั่นเองค่ะ ซึ่งปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ประเภทก็คือ 1) ผ่านสาย LAN 2) ผ่าน Wi-Fi USB 3) Wireless ด้วยตัวรับสัญญานแบบ Built-in
2. Application ใน Smart TV , Internet TV
ส่วนนี้น่าสนใจค่ะ และค่อนข้างสำคัญค่ะถ้าคิดจะใช้ ก่อนจะเลือกยี่ห้อของ Smart TV ก็ศึกษากันสักหน่อยว่าค่ายนั้นๆ เนี่ย เค้ามีApplication ที่โดนใจเรามากน้อยแค่ไหน (หรือมองความฮิตเผื่อไปในอนาคต) Application ที่ว่านี้ก็เหมือนบนมือถือเลยมีให้เลือกมากมาย ยกตัวอย่าง
- เล่นเกม เช่น Pac-Man, Tetris, , Let’s Golf, Homerun Battle 3D เป็นต้น- ดูข่าว เช่น Nation Channel, BBC News, WSJ Live, Time TV เป็นต้น- Social Network เช่น Facebook, Twitter, YouTube, Vimeo เป็นต้น- Utilities/Lifestyle อื่น เช่น Accu Weather, Skype, SF Cinema, Major Cineplex, Traffy, Yoga เป็นต้น
1000-apps
3. การควบคุม Smart TV , Internet TV
อ่านกันมาสักพักก็ชักสงสัยว่าจะควบคุมอย่างไร ส่วนนี้บางท่านอาจะละเลยกับโทรทัศน์ธรรมดาที่กดปุ่มเลือกช่องนู่นนี่ได้นิดหน่อยก็พอแล้ว แต่มาเป็น Smart TV เป็นมากกว่านั้นแน่นอนค่ะ เราเลยต้องศึกษา และให้ความสำคัญในส่วนนี้กันหน่อย
- ควบคุมจากรีโมททีวี : Basic Function แต่ละยี่ห้อคล้ายกันหมด อาจมีการจัดวางที่ต่างกันเล็กน้อย ขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา ตัวเลขแบบมีตัวอักษร (เหมือนโทรศัพท์สมัยก่อนยุคทอง Nokia) ประมาณนั้นค่ะ
- อุปกรณ์เสริมจากแต่ละค่าย : อันนี้แล้วแต่ลูกเล่นแล้วล่ะว่าจะสร้างสรรค์มาดึงดูดเราได้แค่ไหน เช่น Samsung ทำ Qwerty คีย์บอร์ด หรือ Magic Motion Remote จาก LG ปุ่มเดียวก็เสียวได้ ควบคุมทุกอย่าง อยู่หมัดแบบเครื่อง Wii
- ควบคุมผ่าน Application บน Smart Phone : เก๋ไก๋มั้ยล่ะ ทั้ง Android และ iOS มีพร้อมหมด ข้อดีคือ เราคล่องกับ Smart Phone กันอยู่แล้วล่ะ จริงมั้ย ใช้ทุกวัน 

ที่มา : http://www.myhappyoffice.com/index.php/2012/10/what-is-smart-tv/

windows 8

Windows 8 เป็นระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์รุ่นล่าสุด เริ่มพัฒนาก่อน Windows 7 ในปี 2009 ประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2011 Windows 8 ปล่อยออกมา 3 เวอร์ชันอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 ส่งไปยังผู้ผลิตในวันที่ 1 สิงหาคม 2555 และเปิดให้ใช้งานโดยกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปในวันที่ 26 ตุลาคม 2555

วินโดวส์ 8 ปรับเปลี่ยนโดยเน้นการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเช่น แท็บเล็ต เพื่อเป็นคู่แข่งกับระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ เช่น ไอโอเอสและแอนดรอยด์ และได้ปรับปรุงส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน (UI) ทีมีชื่อว่า Modern UI มีหน้าตาที่เรียบง่าย และสะดวกต่อการใช้งานมีการอัปเดตแอปต่าง ๆ ตลอดเวลาด้วยระบบ Live Tiles และยังผนวกโปรแกรมป้องกันไวรัสเข้ามากับระบบปฏิบัติการโดยตรงผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปซื้อโปรแกรมป้องกันไวรัสเพิ่มเติม

คุณสมบัติใหม่

  • เป็น Tablet-Friendly หรือใช้กับอุปกรณ์จอสัมผัสได้เป็นอย่างดี
  • มีการใช้ Modern UI Style ซึ่งตัวไอคอนจะมีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเรียกว่า Tile
  • Refresh และ Reset โดย Refresh จะลบการตั้งค่าและทุกโปรแกรมที่ติดตั้งไว้หมด แต่ไม่ทำอะไรกับไฟล์ข้อมูล ส่วน Reset จะทำให้ตัวWindowsมีลักษณะเหมือนตอนเพิ่งติดตั้งเสร็จ
  • Windows store จะมีไว้สำหรับแจกและขายโปรแกรม
  • มีโปรแกรมสำหรับใช้ Social network อย่าง Facebook กับ Twitter โดยเฉพาะ
  • มีโปรแกรมป้องกันไวรัสติดมาด้วย
  • Windows to Go ที่ทำให้วินโดวส์ 8 สามารถสร้างแฟรชไดรว์ที่บูตวินโดวส์ได้
  • สามารถทำงานในระบบประมวลผมแบบ ARM ได้

แอพพลิเคชัน

เกี่ยวกับแอพพลิเคชัน (application)

      แอปพลิเคชันแบบเว็บเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้งานภายในเบราว์เซอร์เท่านั้น การใช้งานแอปพลิเคชันช่วยให้คุณสามารถทำสิ่งต่างๆ เช่น สร้างเอกสาร แก้ไขรูปภาพ และฟังเพลงได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน
ในปัจจุบัน เว็บไซต์มีฟังก์ชันการทำงานที่มีประสิทธิภาพหลากหลายที่คุณคาดหวังจะได้รับจากแอปพลิเคชันบนเดสก์ท็อปในคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งเราเรียกรายการเหล่านี้ว่าแอปพลิเคชันเว็บที่มีประสิทธิภาพ หรือเรียกสั้นๆ ว่า "แอป" หากคุณใช้บริการต่างๆ เช่น Gmail หรือ Google แผนที่ คุณก็ได้ใช้งานแอปพลิเคชันแล้ว! แอปพลิเคชันมีข้อดีเหนือกว่าแอปพลิเคชันเดสก์ท็อปในด้านต่อไปนี้:
  • แอปพลิเคชันติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการคลิกเพียงปุ่มเดียว โดยคุณไม่จำเป็นต้องรีสตาร์ทเบราว์เซอร์หรือคอมพิวเตอร์ของคุณ
  • แอปพลิเคชันของคุณพร้อมใช้งานตลอดเวลา ไม่ว่าจะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องใด คุณก็สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันของคุณได้ทุกเมื่อ เรียนรู้เกี่ยวกับการซิงค์แอปพลิเคชันเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง
  • แอปพลิเคชันได้รับการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากแอปพลิเคชันจัดเก็บอยู่บนเว็บ จึงสามารถรับการอัปเดตได้ทันที คุณจึงแน่ใจได้ว่าคุณจะได้ใช้แอปพลิเคชันรุ่นล่าสุดที่มีให้บริการอยู่เสมอ
  • แอปพลิเคชันไม่ทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณขัดข้อง หากมีแอปพลิเคชันใดทำงานผิดพลาด คุณเพียงแค่ปิดแท็บของแอปพลิเคชันในเบราว์เซอร์เท่านั้น เบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่ได้รับผลกระทบ 
ที่มา : https://support.google.com/chrome/answer/1050586?hl=th

4g คืออะไร ดีกว่า 3g ยังไง


เทคโนโลยี 4G ( Forth Generation )

       เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุด
อุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที






ลักษณะเด่นของ 4G

      4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ ดิจิตอลคอนเทนต์ เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ ดังนั้น การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3G ก่อนคู่แข่ง? น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด

       ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่? เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ?
อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้
         ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น interim 4G หรือ 4G เฉพาะกิจ เพื่อไปเร่งพัฒนา 4G ตัวจริง (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน
แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps
ทำไมจึงอยากได้ 4G
    
 เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์? เป็นต้น
2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า? สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability
4. ค่าใช้จ่ายถูกลง
5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย
พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ
หากพิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) 

ที่มา : http://4gvs3gth.blogspot.com/
                             

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

กล้อง iPhone 4s

iPhone 4s 
 
Apple logo black.svg
         iPhone 4S เป็น iPhone รุ่นที่ 5 นับตั้งแต่แอปเปิ้ลออกรุ่นแรกมาเมื่อปี 2007 ครั้งนี้แอปเปิ้ลยังไม่มีอะไรก้าวกระโดดในรูปเรื่องร่างหน้าตาภายนอก ส่วนข้างในในส่วนของซีพียูไม่ต้องเดาก็พอทราบกันอยู่แล้วว่าใช้ซีพียู A5 เหมือนที่อยู่ใน iPad 2 ส่วนอื่น ๆ ที่เป็นส่วนที่ดีขึ้นลองไล่อ่านกันดูนะครับว่าดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน

กล้องถ่ายรูป


     เรื่องกล้องถ่ายรูปใน iPhone 4S ถือเป็นจุดเด่นที่หลายคนตั้งหวังว่าจะเทพจริงอย่างที่แอปเปิ้ลโม้บนเวทีเมื่อตอนเปิดตัว โดยขนาดเซ็นเซอร์เพิ่มจาก 5 ล้านพิกเซลใน iPhone 4 มาเป็น 8 ล้านพิกเซลใน iPhone 4S จุดนี้หลายคนอาจจะคิดว่าแจ๋วขึ้นมาก แต่ลองคิดว่าขนาดของเซ็นเซอร์จริง ๆ ตัวเล็กมาก ๆ การเพิ่มแค่ความละเอียดไม่ได้ทำให้ภาพของ iPhone 4S จะดีขึ้นมากสักเท่าไหร่ แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้คนที่ได้ลองแล้วชอบคือเรื่องเลนส์ที่แอปเปิ้ลมีการปรับปรุงให้ดี่ขึ้นจนภาพที่ได้เห็นได้ชัดว่าดีขึ้นจาก iPhone 4 (เมื่อปีที่แล้วก็ว่าดีขึ้นเยอะแล้วนะ)

       ในส่วนของเลนส์แอปเปิ้ลเพิ่มชิ้นเลนส์เข้ามาใน iPhone 4S อีก 1 ชิ้น (รวมเป็น 5 ชิ้น) ทำให้รูปภาพที่ได้จาก iPhone 4S เก็บรายละเอียดได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ iPhone 4 เช่นในส่วนที่เป็นเงาจากแสงอาทิตย์ส่องเข้ามา ส่วนการถ่ายภาพในตอนกลางคืนจะเห็นได้ชัดเจนว่าภาพที่ถ่ายด้วย iPhone 4S จะไม่มีแสงแฟลร์ (Flare) หรือแสงฟุ้ง เมื่อถ่ายไปที่ดวงไฟหรือถ่ายย้อนแสง ซึ่งตรงนี้เป็นความดีความชอบของเลนส์ที่ดีขึ้น
ซึ่งทั้งหมดทำให้ภาพที่ได้จาก iPhone 4S มีความใสขึ้นและสีสมจริงมากขึ้นเมื่อเทียบกับ iPhone 4 ที่จะให้สีจัดเกิดจริงเมื่อนำภาพที่ได้จากทั้งคู่มาเทียบกัน ส่ิงที่ดีขึ้นอีกอย่างคือ White Balance ใน iPhone 4S วัดแสงได้แม่นและถูกต้องมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ตัวอย่างภาพที่ถ่ายจาก iPhone 4S และ iPhone 4

ถ่ายวิดีโอ
         iPhone 4S คือเลนส์ทำให้วิดีโอที่ได้ภาพจะสว่างกว่าบน iPhone 4 และสามารถเก็บรายละเอียดได้ดีกว่า สิ่งหนึ่งที่ผมสนใจเกี่ยวกับการถ่ายวิดีโอบน iPhone 4S คือระบบลดการสั่นสะเทือนขณะถ่ายวิดีโอ (Video Stabilization) ที่แอปเปิ้ลใส่เข้ามาเป็นครั้งแรก เท่าที่ได้่ลองพบว่าระบบกันสั่นสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับ iPhone 4 แต่จะไม่เห็นผลชัดเท่าไหร่เมื่อเราเดินถ่ายวิดีโอ (ตามในวิดีโอข้างบน) โดยเมื่อเทียบกับระบบลดการสั่นสะเทือนในกล้อง Panasonic GF1 ก็ต้องบอกว่ากันสั่นใน iPhone 4S ยังห่างชั้นอยู่มากพอควร

        
         สำหรับวิดีโอที่ถ่ายบน iPhone 4S จะเป็น 1080p (1920×1080 พิกเซล) ซึ่งความละเอียดที่เพิ่มขึ้นมาถึงเท่าตัวเมื่อเทียบกับ iPhone 4 ที่ถ่ายได้แบบ 720p (1280×720 พิกเซล) ทำให้ขนาดไฟล์ 1 นาทีที่ถ่ายได้จาก iPhone 4S มีขนาดใหญ่ถึง 200 MB ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นจุดหนึ่งที่ต้องเลือกซื้อรุ่นที่มีความจุเยอะขึ้นจากเดิมสำหรับคนที่ชอบถ่ายวิดีโอใน iPhone แล้วไม่ค่อยได้โอนลงคอมพิวเตอร์ (ประมาณว่าเก็บแช่ไว้แบบนั้นจนลืมกันไปข้างหนึ่ง) ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วถ่ายวิดีโอ 10 นาทีจะต้องใช้พื้นที่มากถึง 2GB เลยทีเดียว ปัญหาของขนาดไฟล์คงไม่ได้เป็นภาระเฉพาะบน iPhone 4S เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพื้นที่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งตรงนี้ก็คงต้องแนะนำให้หาฮาร์ดดิกส์แบบภายนอกมาเก็บไฟล์เป็นทางออกที่ดีที่สุด


ที่มา:http://phonlovely.blogspot.com/2012/08/iphone-4s.html